สหกรณ์ในพระราชูปถัมภ์ สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด จ.สกลนคร
สหกรณ์ในพระราชูปถัมภ์ สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด จ.สกลนคร
๑. ความเป็นมา
เริ่มแรกมีกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์บ้านป่าโจด – ดงบัง จำนวน ๓๒ ราย ได้รับการส่งเสริมเกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์โค และการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ เพื่อจำหน่ายให้กรมปศุสัตว์ต่อมาได้นำโคพันธุ์แท้จากต่างประเทศมาบริการผสมเทียมเพื่อผลิตลูกโคจำหน่ายให้องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อ.ส.ค.)จนกระทั่งปี ๒๕๒๘ อ.ส.ค. จึงงดซื้อลูกโค
ปี ๒๕๒๘ กรมปศุสัตว์ ร่วมกับจังหวัดสกลนครได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมขึ้น โดยมีเป้าหมายกับกลุ่มที่ตั้งไว้แล้วเพื่อสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่ให้มีการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมขึ้นในจังหวัสกลนคร ต่อมาสมาชิกกลุ่มฯได้ร่วมกันบริจาคเงินซื้อที่ดินเนื้อที่ ๒ ไร่เพื่อสร้างที่ทำการกลุ่มอีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภาจังหวัด เขตอำเภอวาริชภูมิ และสมาชิกได้ร่วมกันสร้างคอกรีดนมขนาด ๙ ช่องรีดขึ้น
ปี ๒๕๒๙ได้เริ่มรีดนมวัวตัวแรก และได้ขยายผลให้มีการเลี้ยงโคนมมากขึ้น ขยายงานเพิ่มโดยจัดซื้อหม้อต้มนมระบบแก๊ส ๒ ชุด ก่อนสร้างอาคารศูนย์รวมนม ต่อเติมคอกรีดโดยได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากกรมปศุสัตว์ จังหวัดสกลนคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาจังหวัดและสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ
ปี ๒๕๓๐ กลุ่มฯ ได้เริ่มผลิตนมพลาสเจอร์ไรส์ บรรจุถุงๆ ละ ๒๐๐ ซี.ซี. ออกจำหน่าย
ปี ๒๕๓๔ กลุ่มฯ เริ่มประสบปัญหาในด้านการตลาด มีปริมาณน้ำนมดิบที่เหลือจากการแปรรูปมากขึ้น
บริษัทอุตสาหกรรมนมไทย จำกัด ตรามะลิ ได้เล็งเห็นว่า กลุ่มฯ มีศักยภาพที่จะขยายงานทาง ด้านการผลิตนมให้ได้ปริมาณเพียงพอและคุณภาพได้มาตรฐาน และบริษัทฯ ยินดีรับซื้อน้ำนมดิบ แต่ต้องแปรสภาพกลุ่มฯ ให้เป็นสหกรณ์โคนม
บริษัทอุตสาหกรรมนมไทย จำกัด ตรามะลิ ได้เล็งเห็นว่า กลุ่มฯ มีศักยภาพที่จะขยายงานทาง ด้านการผลิตนมให้ได้ปริมาณเพียงพอและคุณภาพได้มาตรฐาน และบริษัทฯ ยินดีรับซื้อน้ำนมดิบ แต่ต้องแปรสภาพกลุ่มฯ ให้เป็นสหกรณ์โคนม
ปี ๒๕๓๕ ได้รวมตัวเพื่อจัดตั้ง "สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด” ขึ้น มีสมาชิกแรกตั้ง ๑๙๔ ครอบครัว แบ่งเป็น ๑๖ กลุ่ม มีโคนม ๕๔๐ ตัว และมีหุ้นแรกตั้ง ๑๙,๔๐๐ บาท แดนดำเนินงานครอบคลุม ๖ อำเภอ คือ อำเภอวาริชภูมิ, อำเภอกุดบาก, อำเภอนิคมน้ำอูน, อำเภอสว่างแดนดิน,อำเภอส่องดาว, อำเภอพังโคน (ปี ๒๕๔๒ ขยายแดนดำเนินการออกไปทุกๆ อำเภอในจังหวัดสกลนคร)
๒. การดำเนินธุรกิจในระบบสหกรณ์
๑. สมาชิกถือหุ้นในสหกรณ์มีสิทธิเป็นเจ้าของเท่าเทียมกัน เลือกตั้งสมาชิกด้วยกันจากที่ประชุมใหญ่เป็น "คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์” เข้ามาบริหารงานในสหกรณ์เท่ากับเป็นการบริหารงานโดยสมาชิก
๒. มีพนักงานนำโดยผู้จัดการ ซึ่งสหกรณ์จ้างมาให้ทำงานต่างๆ แทนคณะกรรมการให้เป็นไปตามนโยบายแผนงาน มติของคณะกรรมการ
๓. ทำธุรกิจเชิงพาณิชย์เช่นเดียวกับบริษัทแต่มุ่งช่วยเหลือสมาชิกให้ขยายผลผลิต ได้แน่นอนยุติธรรม ราคาดี และจัดหาปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพเพียงพอตามชนิดตามเวลาที่ต้องการตลอดจน สินค้าอุปโภคในราคาทุนมาบริการและมีกำไรยังมีการปันผลเฉลี่ยคืนให้สมาชิกอีก ด้วย
๔. การดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ. สหกรณ์ ข้อบังคับ ระเบียบ มติที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมคณะกรรมการ โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ดูแล แนะนำให้ถูกต้อง แต่มิใช่ควบคุม
๕. ธุรกิจของสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด ได้แก่
๕.๑ รวบรวม ตรวจสอบ จัดเกรดน้ำนมดิบจากสมาชิก และเก็บรักษาเพื่อคงคุณภาพก่อนการส่งจำหน่าย
๕.๒ จัดการจำหน่ายน้ำนมดิบ และแปรรูปเป็นนมพลาสเจอร์ไรส์ รสจืด รสหวาน รสโกโก้ รสสตรอเบอร์รี่ ออกจำหน่าย
๕.๓ จัดหาอาหารสัตว์ เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ชุดรีดนม ปุ๋ยเคมี ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่สมาชิก
๕.๔ ผลิตน้ำแข็งอนามัยราคาถูกไว้บริการแก่สมาชิกและบุคคลทั่วไป
๓. โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงมีพระราชดำริแนะนำและพระราชทานความช่วยเหลือแก่สหกรณ์ฯ ดังนี้
๑. พระราชทานเงินทุนจากมูลนิธิชัยพัฒนาจำนวน ๑,๒๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท ให้สหกรณ์กู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนระยะยาว สหกรณ์ได้นำมาใช้ก่อสร้างอาคารรับนมดิบ โกดังเก็บอาหารสัตว์ ถังพักน้ำ ปรับปรุงต่อเติมขยายไฟฟ้า ซื้อเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบ ซื้อที่ดินเพิ่มเติมได้ดำเนินการเสร็จเมื่อปลายปี ๒๕๓๗
๒. พระราชทานถังเก็บน้ำนมดิบขนาดบรรจุ ๑๐,๐๐๐ ลิตร(๑๐ ตัน) พร้อมระบบทำความเย็นแบบแผ่นแลกเปลี่ยนความเย็น (เพลท) มูลค่า ๒,๕๖๘,๐๐๐.๐๐ บาท ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อปลายปี ๒๕๓๗
๓. พระราชทานทุนการศึกษาต่อให้แก่บุตรสมาชิก ๓ คน เมื่อเรียนจบแล้วจะได้มาปฏิบัติงานในสหกรณ์
๔. ทรงมีพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือเงินทุนเพื่อจัดซื้อ เครื่องจักรผลิตนม พลาสเจอร์ไรส์ ซึ่งสหกรณ์ฯ ได้รับงบให้เปล่าจากงบพัฒนาจังหวัด ๑,๓๐๙,๐๐๐ บาท และงบกองทุนรวม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (พ.ช.ก.) ผ่านกรมส่งเสริมสหกรณ์ให้กู้ยืมไม่คิดดอกเบี้ย จำนวน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท ได้จัดซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ผลิตนมพลาสเจอร์ไรส์ ขนาดกำลังการผลิต ๕๐๐ ลิตรต่อชั่วโมง แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๘ มีประสิทธิภาพในการผลิตนมพร้อมดื่ม ๒,๕๐๐ ถุงต่อชั่วโมง (ปัจจุบันสหกรณ์ขยายปรับปรุงเป็น ๑,๕๐๐ ลิตร/ชม.)
๕. พระราชทานเงินทุนเพื่อไว้ใช้หมุนเวียนจำนวน ๑,๐๙๐,๐๐๐ บาท จากเงินที่มีผู้บริจาค ทูลเกล้าเมื่อครั้งเสด็จเปิดโรงงานผลิตอาหารสัตว์สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ ทำให้สหกรณ์สามารถแก้ไขปัญหาจ่ายเงินค้างจ่ายค่าน้ำนมดิบแก่สมาชิก
6. สหกรณ์ได้รับเงินอุดหนุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์จากโครงการเงินกู้ปรับโครง สร้าง ภาคเกษตรเป็นการปรับปรุงเครื่องจักรผลิตนมพลาสเจอร์ไรส์ จำนวน ๖,๓๐๐.๐๐ บาท
ปัจจุบันสหกรณ์ได้ผลิตนม UHT โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาเสด็จประกอบพิธี เปิดโรงงานนม UHT เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น